กู้ร่วม ค้ำประกันแตกต่างกันอย่างไร

กู้ร่วมหรือค้ำประกัน คำที่มักจะได้ยินบ่อยๆ ในตอนที่ต้องกู้สินเชื่อกับทางธนาคาร
เนื่องจากในการจะกู้ซื้อบ้านหรือคอนโดต้องใช้เงินก้อนใหญ่ หากจะให้การกู้ง่ายยิ่งขึ้น
อาจจะต้องมีการกู้ร่วม เพื่อให้ได้วงเงินที่มากขึ้น หรืออาศัยคนค้ำประกัน
เพราะผู้กู้อาจมีคุณสมบัติบางอย่างไม่ถึงเกณฑ์ เพื่อมาช่วยเพิ่มเปอร์เซ็นต์การอนุมัติขอสินเชื่อได้
แต่รู้หรือไม่คะว่า กู้ร่วม ค้ำประกันแตกต่างกันอย่างไร ถึงจะดูเหมือนกันตรงที่ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับผู้กู้
แต่ก็มีจุดที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนอยู่นะคะ จะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ

ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับการกู้ร่วมและการค้ำประกัน กันแบบง่ายๆ ก่อนเลยค่ะ
การกู้ร่วมคือ ผู้ที่มากู้ร่วมมีสถานะเป็นลูกหนี้ร่วมกัน จะต้องรับผิดชอบชำระเช่นเดียวกับผู้กู้หลัก
โดยที่ผู้กู้ร่วมมีสิทธิ์ในการถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นด้วย

การค้ำประกันคือ บุคคลที่มาค้ำประกันสินเชื่อให้กับลูกหนี้ โดยสถานะไม่ได้เป็นลูกหนี้ร่วมเหมือนกับคนกู้ร่วม
สถานะจะเป็นเพียงแค่คนค้ำประกันที่เมื่อเกิดกรณีที่ลูกหนี้เบี้ยวไม่จ่ายหนี้
ธนาคารหรือสถาบันการเงินก็จะไปไล่เบี้ยเอาคืนกับคนค้ำประกัน

เมื่อรู้จักการทั้ง การกู้ร่วมและการค้ำประกันแล้ว มาดูกันค่ะว่า กู้ร่วม ค้ำประกันแตกต่างกันอย่างไร

  1. ความสัมพันธ์กับผู้กู้หลัก
    – การกู้ร่วม จะต้องมีความสัมพันธ์ในเครือญาติ หรือเป็นครอบครัวเดียวกับผู้กู้หลัก
    – การค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันสามารถเป็นใครก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นบุคคลในเครือญาติของผู้กู้
  2. การพิจารณาของธนาคาร
    – การกู้ร่วม ทางธนาคารจะพิจารณารายได้ของทั้งผู้กู้หลัก และผู้ร่วมกู้ เพื่อนำไปอนุมัติสินเชื่อ
    – การค้ำประกัน ธนาคารจะไม่นำรายได้ของคนค้ำประกันมารวมคิดเพื่อพิจารณาอนุมัติ
    จะยังคงพิจารณาเฉพาะรายได้ของผู้กู้เท่านั้น แต่จะพิจารณาคุณสมบัติของผู้ค้ำประกันแทน
    โดยผู้ค้ำประกันจะต้องจะต้องมีประวัติเครดิตที่ดีหรือมีรายรับที่มั่นคง
  3. กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน
    – การกู้ร่วม ผู้ที่กู้ร่วมจะมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน เช่นเดียวกันกับผู้กู้หลัก
    – การค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันจะไม่มีกรรมสิทธิ์ใดๆ ในทรัพย์สินที่ค้ำประกันเลย
  4. หน้าที่ในการผ่อนชำระ
    – การกู้ร่วม ผู้ที่กู้ร่วมจะมีหน้าที่ในการผ่อนชำระหนี้สิน เช่นเดียวกันกับผู้กู้หลัก
    – การค้ำประกัน ไม่มีหน้าที่ในการผ่อนชำระหนี้สิน
    แต่มีหน้าที่รับผิดชอบ หากผู้กู้หลักปฏิบัติตนผิดสัญญาตามที่ธนาคารระบุไว้
  5. การลดหย่อนภาษี
    – การกู้ร่วม สามารถนำดอกเบี้ยจ่ายไปลดหย่อนภาษีได้ตามกฎหมาย
    – การค้ำประกัน ไม่สามารถนำดอกเบี้ยไปลดหย่อนภาษีได้
    เนื่องจากไม่ได้ทำการผ่อนชำระ

จะเห็นได้ชัดเลยว่าทั้งการกู้ร่วม และการค้ำประกัน จะมีข้อแตกต่างกันอย่างชัดเจน
แต่สิ่งที่เหมือนกันคือเป็นการเพิ่มโอกาสในการได้รับอนุมัติสินเชื่อเพิ่มมากขึ้น
แต่อย่างไรก็ตามหากมองในฐานะที่เราต้องเข้าไปเป็นผู้กู้ร่วมหรือโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนค้ำประกัน
ที่ไม่มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินนั้นเลย แต่เมื่อถึงเวลาที่หนี้มีปัญหาทั้งผู้กู้ร่วมและคนค้ำประกันต่างก็ต้องรับผิดชอบ
ต่อหนี้ที่เกิดขึ้นโดยที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ การจะกู้ร่วมกับใครหรือจะค้ำประกันหนี้ให้กับใครจึงควรคิดให้ดี
คิดให้ถี่ถ้วนและคิดให้รอบคอบเสียก่อน หากไม่สนิทกันหรือมีความสงสัยในตัวคนที่มาขอให้ช่วยแม้แต่น้อย
ก็ไม่ควรที่จะรับค้ำประกันหรือมีชื่อเป็นผู้กู้ร่วมอย่างเด็ดขาดเลยนะคะ

กู้ร่วม ค้ำประกันแตกต่างกันอย่างไร

______________________________________________________________
บริษัทเอเจ้นท์คอนโดสัญชาติไทย-ญี่ปุ่น “Shinyu Residence”
สนใจคอนโดราคาพิเศษ และบริการแบบ One Stop Service
Sell and Rent Condo in Bangkok
– เจ้าของรางวัล Thailand Best Real Estate Agencies จาก Dot Property Awards
– ได้รับการรับรองการเป็น International Property Specialist และ Realtor
– ได้รับการรับรองจากสมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ แห่งประเทศไทย

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://shinyurealestate.com/article/category/knowledge

หรือ https://www.facebook.com/Shinyu-Real-Estate-Official-100529669046345