ใกล้ช่วงสิ้นปีแบบนี้สิ่งที่ทุกคนต้องนึกถึงหรือลืมไม่ได้เลยก็คือการ “การยื่นภาษีประจำปี”
ซึ่งเป็นหน้าที่ที่ผู้มีรายได้ทุกคนต้องยื่นภาษีกับกรมสรรพภากรสำหรับใครที่รายได้ถึงเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษีนั้น
ก็คงจะต้องหาค่าใช้จ่ายต่างๆ มาเพื่อใช้ ลดหย่อนภาษี ซึ่งก็จะมีค่าใช้จ่ายในหลายๆ ส่วนที่สามารถนำมาใช้ลดหย่อนภาษีได้
เช่น เลี้ยงดูพ่อแม่ การทำประกันชีวิตการลงทุน RMF และ SSF การท่องเที่ยวในประเทศ 55 เมืองรอง หรือจะเป็นค่าลดหย่อนในกรณีที่ “ผ่อนบ้านหรือคอนโด”
วันนี้ค่าลดหย่อนที่เราจะพูดถึงกันก็คือ ค่าลดหย่อนในกรณีที่เราต้องผ่อนบ้านหรือคอนโดสำหรับคนส่วนใหญ่บ้านคือทรัพย์สินและหนี้สินที่มีมูลค่ามากที่สุด
รัฐบาลจึงเล็งเห็นความสำคัญของการมีที่อยู่อาศัย จึงมีนโยบายสนับสนุนให้เราสามารถนำดอกเบี้ยจากสินเชื่อบ้านที่จ่ายจริง
ไปขอลดหย่อนจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่กรมสรรพากรเรียกเก็บได้ ขอย้ำอีกทีนะคะว่าส่วนที่นำไปลดหย่อนภาษีได้คือ “ยอดดอกเบี้ยที่เราชำระจริง”
ไม่ใช่ราคาบ้านหรือคอนโดทั้งหมดเต็มจำนวน ซึ่งก็แน่นอนว่ายิ่งราคาบ้านหรือคอนโดมีราคาแพง ย่อมต้องจ่ายดอกเบี้ยเป็นจำนวนมาก
ก็จะเท่ากับว่าสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้มากตามไปด้วยเช่นกันโดยสามารถนำไปใช้ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้สูงสุดปีละ 100,000 บาท
โดยต้องอยู่ในเงื่อนไขดังนี้
– ต้องกู้ยืมกับ “ผู้ประกอบกิจการภายในประเทศที่กำหนดไว้เท่านั้น ได้แก่
- ธนาคารพาณิชย์
- บริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
- บริษัทประกันชีวิต
- สหกรณ์
- นายจ้างซึ่งมีระเบียบเกี่ยวกับเงินกองทุนที่จัดสรรไว้เพื่อสวัสดิการแก่ลูกจ้าง
- บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัยตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
– วัตถุประสงค์ในการกู้ยืมเพื่อซื้อหรือสร้างที่อยู่อาศัย
- สามารถใช้ลดหย่อนได้ทั้งผู้ที่ ซื้อบ้านทั้งมือ 1, มือ 2
- กู้สร้างบ้าน แต่ต้องสร้างบนที่ดินของตนเองหรือที่ดินที่ตนเองมีสิทธิครอบครองเท่านั้น
- กู้เงินเพื่อซื้อคอนโดมิเนียม
– การจดจำนอง
ต้องมีการจำนองบ้านหรือคอนโดมิเนียมไว้ เป็นหลักประกันการกู้ยืมเงินกับผู้ให้กู้
– ต้องใช้บ้านหรือคอนโดมิเนียมนั้นเป็นที่อยู่อาศัยในปีที่ขอหักลดหย่อน ยกเว้นกรณีที่ผู้กู้มีเหตุจำเป็น
เช่น บริษัทสั่งให้ไปทำงานต่างถิ่นเป็นประจำ หรือเกิดเหตุสุดวิสัย ไฟไหม้ น้ำท่วม ก็สามารถอนุโลมได้เพราะไม่ใช่ความผิดของผู้กู้ค่ะ
การจะขอยื่นลดหย่อนนั้น ผู้มีเงินได้ต้องขอหลักฐานจากทางธนาคาร หรือสถาบันที่เรากู้เงิน เพราะทางกรมสรรพากรต้องดูหลักฐานให้แน่ว่ามีการจ่ายดอกเบี้ยจริงๆ
หากเป็นการผ่อนคอนโดลดหย่อนภาษีทั่วไป ต้องใช้เอกสารประกอบการลดหย่อนภาษีที่เรียกว่า หนังสือรับรองดอกเบี้ยกู้ยืม (ล.ย.02) ซึ่งสามารถขอจากได้ธนาคารที่ปล่อยกู้ได้เลย
อ่านมาถึงตรงนี้หากใครที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขก็อย่าลืมนำเอกสารไปยื่นลดหย่อนภาษีกันนะคะ จะช่วยให้จ่ายภาษีน้อยลงได้เยอะเลย
หรือหากไม่แน่ใจว่าตรงตามเงื่อนไขครบหรือไม่สามารถสอบถามนายหน้าอสังหาหรือทีมงานชินยูได้เลยนะคะ ทีมงานเราพร้อมช่วยเหลือค่ะ
______________________________________________________________________
อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://shinyurealestate.com/article/category/knowledge
หรือ https://www.facebook.com/Shinyu-Real-Estate-Official-100529669046345