ในปัจจุบันที่ “คอนโดมิเนียม” กลายเป็นตัวเลือกอันดับแรก
ที่หลายๆ คนย่อมทุ่มเงินล้านเพื่อแลกกับข้อดีต่างๆ ที่ตามมา
ไม่ว่าจะเป็นทำเลที่อยู่ใจกลางกรุงสามารถได้อย่างสะดวกสบาย
สามารถใช้สอยพื้นที่ภายในห้องได้อย่างเต็มที่ มีระบบรักษาความปลอดภัยดีเยี่ยม
ตลอดไปจนถึงการมีส่วนกลางที่ครบครันพร้อมใช้งาน เมื่อมีข้อดีก็ย่อมต้องมีข้อเสีย
เพราะดูเหมือนปัญหาเรื่อง “เสียงรบกวนภายในคอนโด” นั้น ถือเป็นหนึ่งในปัญหาหลักๆ ที่มักจะพบเจอเป็นประจำ
จริงอยู่ว่าการอาศัยอยู่ร่วมกับคนเยอะมักจะมีปัญหาเป็นเรื่องธรรมดา
โดยเฉพาะในคอนโดที่มีพื้นที่ห้องติดกัน หากเพื่อนบ้านส่งเสียงดัง การทนอยู่กับเสียงดังยามวิกาลเป็นเวลานาน ๆ ย่อมเครียดแน่
เพราะแทนที่คุณกลับจากการทำงานมาจะได้พักผ่อนอย่างสบายใจ
แต่ต้องมาถูกรบกวนด้วยสียงจากเพื่อนบ้านในคอนโดของคุณ มีวิธีจัดการรับมือกับเสียงรบกวนนี้ยังไง มาดูกันเลย
เสียงระดับใดจึงจะถือว่าเป็นเสียงรบกวน หรือมลพิษทางเสียง?
ภาวะมลพิษทางเสียง (Noise Pollution )
หมายถึง สภาวะเสียงที่ดังเกินไปจนก่อให้เกิดความรำคาญ
หรือก่อให้เกิดอันตรายต่อระบบการได้ยินของมนุษย์และสัตว์ เช่น เสียงวิทยุ โทรทัศน์ เสียงเครื่องบิน หรือ เสียงการก่อสร้าง เป็นต้น
พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535
มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดการ ป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษที่เกี่ยวกับเหตุรำคาญด้านพิษทางเสียง
5 วิธีรับมือกับ เสียงรบกวนภายในคอนโด
1.ฟังเสียงให้ชัด
ก่อนอื่นเราจำเป็นต้องทราบก่อนว่าเสียงที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเสียงของอะไร
เกิดขึ้นจากตรงไหน ไม่ว่าจะเป็นบนห้อง ข้างห้อง ข้างล่างตึก หรือหน้าลิฟต์
ซึ่งเราต้องสังเกตความถี่ดูด้วยว่าเกิดขึ้นมากน้อยแค่ไหน เพราะบางเสียงรบกวนอาจเกิดขึ้นนานๆ ครั้ง
เพื่อจะได้เป็นข้อมูลในการไปแจ้งนิติ บอกให้ทางนิติทราบว่าเกิดเสียงรบกวนแบบนี้ๆ อยู่ตลอดเวลา
หรือบ่อยครั้งจนเป็นการรบกวนเรา ซึ่งถ้าเป็นเสียงที่เกิดขึ้นจากห้องใกล้เคียง ที่สามารถระบุแหล่งที่มาได้
จะทำให้จัดการกับปัญหาได้มากขึ้น แต่ถ้าหากไม่ทราบที่มาจริงๆ ก็อาจจะไปบอกกับนิติด้วยข้อมูลคร่าวๆ
- แจ้งนิติของคอนโด
จากนั้นนำข้อมูลที่ได้ไปร้องเรียนกับทางนิติ สมมติในกรณีที่เราได้ยินเสียงเหมือนมีคนทำกับข้าวในช่วงเย็นของทุกวัน
จากห้องด้านบนสะเทือนมาถึงด้านล่าง ก็อาจจะไปแจ้งกับนิติได้ว่า มีเสียง ดังขึ้นทุกเย็นๆ ซึ่งเป็นเสียงที่รบกวนเรา
อาจจะให้นิติไปเตือนกับห้องด้านบน เพื่อหลีกเลี่ยงการก่อเสียงเหล่านั้น หรือหาทางทำให้เสียงนั้นเบาลง
หรือในกรณีอื่นๆ ก็สามารถแจ้งด้วยข้อมูลที่เรามี ณ ตอนนั้นได้เลย ซึ่งเป็นหน้าที่ของนิติที่ต้องทำลูกบ้านนั้นอยู่กันอย่างสงบสุขอยู่แล้ว
- หาเพื่อนร่วมที่ได้รับผลกระทบ
หากเพื่อนบ้านที่ส่งเสียงรบกวนนั้นยังไม่ยอมหยุด ครั้งนี้เราจึงควรหาแนวร่วมเป็นห้องอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบในคอนโด
เพื่อรวมตัวกันไปบอกทางนิติให้หาแนวทางจัดการเพื่อนบ้านรายนี้ โดยทั้งนี้อาจมีการศึกษาข้อกฎหมายที่ว่าด้วยเรื่องพระราชบัญญัติอาคารชุด
ว่ามีการกำหนดให้แต่ละห้องสามารถส่งเสียงดังได้ไม่เกินกี่เดซิเบล
4.ปรับปรุงห้องเอง
ข้อสุดท้ายในเมื่อทำทุกอย่างแล้วยังไม่ได้ผล ก็ให้แก้ที่ตัวเราเอง
โดยการย้ายเตียงนอนไปอยู่อีกฝั่งที่ไกลจากจุดกำเนิดเสียงให้มากที่สุด
พร้อมกับหาเฟอร์นิเจอร์ชิ้นใหญ่เช่นโต๊ะเครื่องแป้งหรือตู้เสื้อผ้าไปไว้ที่ตำแหน่งนั้น
เพื่อเป็นการดูดซับเสียงรบกวนแทน ทั้งนี้อาจมีการติดผ้าม่านใหม่ให้หนาขึ้นหรือเพิ่มเฟอร์นิเจอร์ภายในห้อง
ให้ช่วยดูดซับเสียงก็ย่อมได้ หรือ การติดตั้งผนังกันเสียง ซึ่งก็จะช่วยลดเสียงที่เกิดจากเสียงรบกวนจากภายนอก
และยังกันเสียงเราออกจากห้องไปรบกวนคนอื่นได้อีกด้วย
5.ลงบันทึกประจำวันเรียกตำรวจ
ถ้าคุณทำทุกวิถีทางแล้วหรือแม้กระทั่งนิติก็ไม่สามารถช่วยคุณได้ วิธีสุดท้ายที่จะสามารถช่วยคุณได้คือ
การลงบันทึกประจำวันเรียกตำรวจ ตำรวจจะได้เข้าช่วยแก้ปัญหาเจรจาได้ทันการ หรือจะจัดการด้วยข้อกฎหมาย
เรายังสามารถใช้กฎหมายมาจัดการกับปัญหาเหล่านี้ได้เช่นกัน ซึ่งเราต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าเสียงรบกวนเหล่านั้นเป็น “มลพิษทางเสียง”
ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 เราถึงจะใช้กฏหมายนี้คุ้มครองสิทธิที่ถูกรบกวนได้
เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ผู้อยู่อาศัยในคอนโดควรทราบ เพราะเมื่อเกิดปัญหาขึ้นจะได้รู้แนวทางในการแก้ไข
เพราะบางครั้งหากเพื่อนบ้านของคุณส่งเสียงดังสร้างความรำคาญ เมื่อมีการตักเตือนแล้ว แต่ยังเกิดปัญหาซ้ำอีก
อาจทำให้บางคนใช้วิธีว่ากล่าวด้วยอารมณ์และถ้อยคำที่รุนแรง ซึ่งจะเป็นเหตุนำไปสู่การทะเลาะวิวาทได้
ทางที่ดีที่สุดคือการใช้กฎหมายในการแก้ปัญหา เพื่อจัดการให้ทุกอย่างจบอย่างถูกต้อง
______________________________________________________________
อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://shinyurealestate.com/article/category/knowledge
หรือ https://www.facebook.com/Shinyu-Real-Estate-Official-100529669046345