วันนี้เราจะมาพูดถึงปัญหาหลักของชาวคอนโดที่หลายคนเคยเจอ หรือ เห็นหลายกระทู้ใน Pantip
นั่นก็คือปัญหา กลิ่น และควันบุหรี่ลอยมาจากห้องข้างๆ เพราะมีคนออกมาสูบบุหรี่ที่ระเบียง
เพราะคิดว่าระเบียงนั้นก็เป็นพื้นที่ของตัวเองที่จะทำอะไรก็ได้
แต่ห้องอื่นๆ กลับได้รับผลกระทบจากกลิ่นและควันบุหรี่เหล่านั้น
ทำให้ส่งผลด้านสุขภาพจิต และสุขภาพกายที่ต้องมาเสี่ยงกับโรคร้ายต่างๆ ตามไปด้วย
ทำให้เกิดคำถามขึ้นมาว่า สูบบุหรี่ในคอนโด นั้นผิดหรือไม่?
แล้วทำอะไรได้บ้าง หากเจอคนสูบบุหรี่ในระเบียงคอนโด?
สูบบุหรี่ในคอนโด ผิดกฎหมายไหม ?
สำหรับหลายคนที่มีคำถามว่าผิดหรือไม่นั้น ถ้าหากอ้างอิงจาก พรบ.คุ้มครองผู้ไม่สูบบุหรี่ 2535
การสูบบุหรี่ภายในคอนโดที่ตัวเองอาศัยอยู่นั้น ไม่ผิดกฎหมายแต่อย่างใด
อ้าว! แล้วแบบนี้ใครจะสูบบุหรี่ในห้องตัวเองก็ได้เลยใช่ไหม ?
จะว่าแบบนั้นก็ได้ แต่คนที่สูบบุหรี่มักจะไม่ได้สูบในห้องของตัวเองล่ะสิ
แต่จะออกมาสูบบุหรี่ที่ระเบียง ซึ่งตรงนี้แหละที่จะทำให้เกิดปัญหากับคนอื่นๆ
ที่อาศัยอยู่ในห้องใกล้เคียงจะได้รับผลกระทบในเรื่องของกลิ่น และควันบุหรี่ลอยมานั่นเอง
แล้วทำไมไม่สูบในห้องตัวเอง ?
สำหรับคนที่ไม่สูบบุหรี่ก็จะเกิดคำถามขึ้นมาในใจว่า
แล้วทำไมคนที่สูบบุหรี่ถึงไม่ไปสูบในห้องของตัวเอง
ในส่วนของคำตอบ ก็มีหลากหลาย ทั้งเป็นเพราะตัวเองก็ไม่อยากให้ภายในห้องมีกลิ่นบุหรี่
หรือมีผู้อื่นอาศัยอยู่ด้วย หรือในบางคอนโดก็จะมีเครื่องตรวจจับควัน
ทำให้ไม่สามารถสูบในห้องได้ เป็นต้น แต่ถ้าควันบุหรี่ที่เขาสูบมันลอยไปส่งกลิ่นเหม็น
สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่นขึ้นมา ก็อาจจะผิดที่มารยาทของการอยู่ร่วมกันได้ะ
ปกติแล้วคอนโดในแต่ละที่จะการกำหนดให้มีจุดสูบบุหรี่โดยเฉพาะ
เพื่อเป็นการแยกพื้นที่ให้กับผู้สูบบุหรี่ ไม่ให้ส่งผลกระทบต่อผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ที่อยู่ในอาคารเดียวกัน
แต่เราก็มักจะเจอคนสูบบุหรี่ ที่ออกมาสูบบุหรี่ที่ระเบียงอยู่ดี
สูบบุหรี่ในคอนโด ไม่ผิดกฎหมาย แต่จะสูบได้หรือไม่ ?
ถึงแม้ว่าการสูบบุหรี่ในห้องชุดจะไม่ผิด พรบ. แต่ทางนิติของคอนโดในแต่ละโครงการ
สามารถออกกฎขอความร่วมมือไม่ให้สูบบหรี่ในพื้นที่ห้องพักอาศัย
และห้ามมิให้ทิ้งก้นบุหรี่ออกนอกระเบียงคอนโด เพราะอาจทำให้ลมพัดก้นบุหรี่ไปยังห้องผู้อื่น
หรือลงพื้นด้านล่าง ซึ่งอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้ รวมไปถึงการตั้งบทลงโทษ
หากฝ่าฝืนจะมีการเสียค่าปรับ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อรักษาความสงบสุขให้แก่ผู้พักอาศัย
ให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข
ปัจจุบันการสูบบุหรี่ไม่ผิดกฎหมายก็จริง แต่ก็มีการผลักดันให้เกิดการคุ้มครองผู้ไม่สูบบุหรี่ในอาคารชุดอยู่ค่ะ
สถาบันส่งเสริมสุขภาพไทยได้ออกมาแถลงข่าวและเสวนาวิชาการเรื่อง “การคุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ในอาคารชุด”
ชี้แจงเรื่องปัญหาของผู้ที่สูบบุหรี่ในอาคารชุดที่มีเพียงส่วนน้อย แต่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่เป็นวงกว้าง
จึงอยากผลักดันให้อาคารชุดเป็นสถานที่ปลอดบุหรี่ และเราก็หวังว่าจะมีกฎหมายนั้นในซักวัน
ทำอย่างไรได้บ้าง เมื่อมีผู้สูบบุหรี่ในคอนโด
ในเมื่อการอยู่อาศัยคอนโด ก็เป็นสิทธิ์ของเราที่จะสามารถใช้พื้นที่ในส่วนไหนของห้องก็ได้ รวมไปถึงระเบียง
แต่เมื่อเราออกไปที่ระเบียงของห้องเราแล้ว กลับได้กลิ่นบุหรี่จากห้องอื่นลอยมา ทำให้เราต้องปิดประตูระเบียง
กลับเข้าไปใช้ชีวิตแค่ในห้อง ออกมาที่ระเบียงไม่ได้ เพราะกลัวจะเจอกลิ่นบุหรี่ ก็ดูจะไม่แฟร์ เพราะฉะนั้นเรามาดูกันค่ะว่า
เราสามารถทำอะไรได้บ้าง หากเจอผู้ที่สูบบุหรี่ในคอนโด
- มองหาต้นตอของกลิ่นบุหรี่ว่ามาจากห้องไหน
กลิ่นและควันบุหรี่ จะพัดลอยมาตามลม ยิ่งอยู่คอนโดที่เป็นตึกสูง มีความเป็นไปได้ว่าควันอาจจะลอยมาจากหลายทิศทาง
บางทีอาจจะลอยมาจากบ้านเรือนที่อยู่ใกล้เคียงซึ่งจะอยู่นอกพื้นที่ที่เราจะไปจัดการอะไรได้ และถ้าไม่รู้ที่มาก็ยากที่จะจัดการค่ะ
แต่ทั้งนี้ความเป็นไปได้จากห้องใกล้เคียงก็มีมากกว่า หากเราออกไปที่ระเบียงแล้วได้กลิ่นบุหรี่
ให้รีบมองหาว่ามาจากห้องใกล้เคียงห้องไหนก่อน
เมื่อพบแล้วให้จำเลขที่ห้องยไว้ เพื่อนำไปร้องเรียนยังนิติได้ค่ะ
2. ร้องเรียนไปที่นิติ
นิติบุคคลของคอนโดมีหน้าที่จัดการปัญหาภายในคอนโด รวมถึงการเป็นตัวกลางในการไกล่เกลี่ยปัญหาที่เกิดขึ้นภายในคอนโด
เราสามารถร้องเรียนไปที่นิติได้ว่า มีคนสูบบุหรี่ภายในห้องนี้ตรงระเบียง ซึ่งเราเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากกลิ่นและควันบุหรี่เหล่านั้น
บางคอนโดสามารถแจ้งได้โดยที่เราไม่ต้องสืบหาว่าใครสูบบุหรี่ ทางนิติก็จะหาทางแก้ปัญหาให้ด้วยการแปะป้ายห้ามสูบบุหรี่เพิ่มเติมตามโถงทางเดิน
หรือพื้นที่ส่วนกลาง ซึ่งก็อาจจะยังแก้ปัญหาจากต้นตอไม่ได้ เพราะคนที่จะสูบก็ยังคงสูบ ไม่สนคำเตือนใดๆ แต่ถ้าหากเราทราบแน่ชัดว่าเป็นห้องไหน
แล้วแจ้งกับทางนิติ ตามปกติแล้วนิติจะต้องจัดการให้ โดยการออกใบแจ้งเตือน หรือโทรไปเตือนห้องนั้นๆ
บางคอนโดออกกฎให้เสียค่าปรับหากมีการละเมิดกฎ แต่ก็มีอีกหลายคอนโดที่นิติอ้างว่าตัวเองไม่มีอำนาจใดๆ
ทำได้แค่แจ้งเตือน ก็จะกลายเป็นผลักภาระมาที่เราอีกที
3. หย่อนจดหมายขอความร่วมมือ
สามารถหย่อนจดหมายขอความร่วมมือไปยังห้องยูนิตนั้นๆ ได้ค่ะ โดยแจ้งถึงกฎของคอนโดว่าห้ามสูบบุหรี่
แจ้งเรื่องผลกระทบที่เราได้รับจากการสูบบุหรี่ของเขา และขอความร่วมมือให้ไม่สูบที่ระเบียงอีก
แต่ก็อย่างที่บอกไปในข้อ 1 ว่าเราต้องรู้ให้ชัดเจนก่อนค่ะว่าเป็นห้องไหน เราถึงพอจะจัดการเรื่องนี้ได้
และหลังจากนั้นก็ให้รอดูว่าสิ่งที่เราแจ้งไปนั้นเป็นผลไหม
4. แจ้งความ
จริงอยู่ว่าการสูบบุหรี่ในคอนโดนั้นไม่ผิดกฎหมายในปัจจุบัน แต่เราสามารถแจ้งความในเรื่อง “เหตุรำคาญ ตาม พ.ร.บ. การสาธารณสุข พ.ศ. 2535” แทนได้
ซึ่งจะเป็นกฎหมายที่คุ้มครองผู้ที่อาศัยในบริเวณใกล้เคียงที่ได้รับความเดือดร้อนอันเป็นเหตุทำให้เสื่อมหรืออันตรายต่อสุขภาพ
จาก กลิ่น แสง เสียง ความร้อน ฝุ่น หรือกรณีอื่นๆ ทั้งนี้ทางผู้ที่ได้รับความเสียหายต้องสามารถพิสูจน์ได้ว่าการสูบบุหรี่ดังกล่าวนั้นเป็น “เหตุรำคาญ”
จริงๆ จึงจะสามารถแจ้งความได้ เช่น มีภาพ หรือวิดิโอที่เป็นหลักฐานว่ามีควันลอยเข้ามาที่ห้องเราจริงๆ สามารถแจ้งเหตุได้ที่หน่วยงานท้องถิ่น
ถ้าเป็นในกรุงเทพ ก็แจ้งที่เขตได้เลยค่ะ โดยผู้ที่ก่อเหตุรำคาญนั้นมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 25,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
จากคำแนะนำที่ว่ามาทั้งหมดนี้ กับบางคนก็อาจจะใช้ได้ผล แต่ก็อาจจะมีอีกบางส่วนที่ไม่เป็นผล
ไม่ว่าจะเป็นทั้งจากตัวผู้สูบที่โนสนโนแคร์เพื่อนร่วมโลกใดๆ หรือทั้งจากนิติที่ทำเหมือนตัวเองไม่มีอำนาจ ไม่อยากมาแก้ปัญหาใดๆ
ก็ได้แต่ภาวนาว่า ขอให้เราอย่าได้เจออะไรแบบนั้นเลย เพราะนอกเหนือจากวิธีที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ก็ไม่มีวิธีสันติใดๆ จะแก้ไขปัญหาได้อีกแล้วค่ะ
ขอให้ผู้อยู่อาศัยในคอนโด ตัดสินใจให้ดีก่อนซื้อ ศึกษาถึงประวัตินิติบุคคลของแต่ละที่ไว้ ก็พอช่วยได้บ้าง ขอให้โชคดีค่ะ
หากสนใจที่โครงการคอนโดมีนิติดีๆดูแลเอาใจใส่ลูกบ้าง สามารถติดต่อสอบถาม Shinyu Residence ได้เลยค่ะ
______________________________________________________________
อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://shinyurealestate.com/article/category/knowledge
หรือ https://www.facebook.com/Shinyu-Real-Estate-Official-100529669046345