เลิกกับแฟน! แต่ติด สัญญากู้ร่วม ควรทำอย่างไรต่อไป ?

เมื่อความสัมพันธ์จบลง แต่ปัญหาหนี้สินไม่ได้จบตาม
โลกนี้ไม่มีอะไรแน่นอน ความรักของคนมีคู่ที่ลงหลักปักฐานสร้างครอบครัว
และลงทุนกู้เงินซื้อบ้านร่วมกัน วันหนึ่งอาจเกิดฟ้าผ่าทำให้เลิกรากันไป
แล้วอย่างนี้บ้านหลังน้อยที่กู้ร่วมต้องทำอย่างไร? ต้องขายทิ้งหรือไม่?
แล้วชื่อเจ้าของบ้านหลังนั้นจะเป็นของใคร?
คำถามเหล่านี้ต่างวนเวียนอยู่ในหัวของทุกคู่รักที่เลิกราแต่ติด สัญญากู้ร่วม
วันนี้เราจะมาแนะนำวิธีแก้ปัญหาให้ทุกคนได้รู้ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยค่ะ

ก่อนอื่นเรามารู้จักกันก่อนดีกว่าค่ะการกู้ร่วมซื้อบ้านคืออะไร
ติด สัญญากู้ร่วม ซื้อบ้าน คือ การกู้ทรัพย์สินโดยมีผู้กู้ร่วมอีกคน เป็นคนร่วมรับภาะระหนี้
ซึ่งเป็นวิธีที่ช่วยให้การกู้เงินซื้อบ้านง่ายขึ้น และให้ธนาคารหรือสถาบันทางการเงินอนุมัติการขอสินเชื่อ
สำหรับกู้เงินซื้อบ้านได้ง่ายขึ้น

การกู้ร่วมซื้อบ้านกับคู่รัก เมื่อถึงวันเลิกราต้องทำอย่างไร?

  1. ถอนชื่อคู่รักที่กู้ร่วม
    เมื่อถึงวันเลิกราคู่ที่เคยรักกันต้องหันมามองกลับว่าบรรดาทรัพย์สินที่ร่วมกันซื้อ
    ร่วมกันกู้นั้นมีอะไรบ้าง เพื่อที่จะจัดสรรปันส่วนได้อย่างลงตัว
    โดยหากกู้ร่วมซื้อบ้านหรือคอนโดด้วยกันต้องทำการถอดถอนชื่อคู่รักที่เลิกราออก
    ซึ่งถูกแบ่งเป็น 2 กรณีดังนี้

    • คู่รักเลิกราแต่จดทะเบียนสมรส
      หลังจากคู่รักตกลงจบความสัมพันธ์ และยกสินทรัพย์ที่กู้ร่วมด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นบ้าน คอนโด
      หรือทาวน์โฮม ให้ทำการจดทะเบียนหย่าให้เรียบร้อย จากนั้นนำใบหย่าและสัญญาจะซื้อจะขาย
      ไปขอถอนชื่อคู่รักที่เลิกราออกจากสัญญากู้ที่ทำไว้กับธนาคาร
      ซึ่งเจ้าหน้าที่ธนาคารจะเปลี่ยนรูปแบบสินเชื่อที่อยู่อาศัยและสัญญาเงินกู้ใหม่
    • คู่รักเลิกราไม่ได้จดทะเบียนสมรส

สำหรับกรณีนี้การถอนชื่อคู่รักที่เลิกราออกจากการกู้ร่วมซื้อบ้านนั้นไม่ยุ่งยาก
เพียงแต่ขึ้นอยู่กับข้อตกลงของทั้ง 2 ฝ่ายว่าจะให้ใครเป็นคนถือกรรมสิทธิ์เจ้าของสินทรัพย์
ที่ตกลงกู้ร่วมด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น บ้าน / คอนโด / ทาวน์โฮม หรืออาคารพาณิชย์
ทั้งนี้ต้องทำการแจ้งถอดถอนชื่อออกกับทางเจ้าหน้าที่ธนาคารที่ทำสัญญากู้ไว้
โดยสามารถแจ้งความประสงค์กับธนาคารว่าต้องการถือกรรมสิทธ์เพียงคนเดียว
เนื่องจากได้หย่าร้างกันแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ซึ่งธนาคารจะประเมินความสามารถของผู้กู้
ว่าสามารถผ่อนชำระต่อได้หรือไม่

  1. รีไฟแนนซ์จากกู้ร่วมเป็นกู้เดี่ยว
    สำหรับขั้นตอนที่ 2 นี้ เป็นทางออกกรณีที่ธนาคารไม่อนุมัติให้ถอนชื่อคู่รักที่กู้ร่วมด้วยกันออก
    เนื่องจากประเมินแล้วว่าผู้กู้ไม่สามารถชำระหนี้คนเดียวได้
    ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือ การรีไฟแนนซ์กับธนาคารอื่นเพื่อทำเรื่องขอกู้ที่อยู่อาศัยเพียงคนเดียว
    ทั้งนี้ธนาคารจะเป็นผู้ประเมินความสามารถในการชำระหนี้
    โดยมีปัจจัยหลักในการพิจารณาดังต่อไปนี้
  • พิจารณาจากรายได้ของผู้กู้
  • ดูยอดดาวน์ที่กู้ซื้อบ้าน
  • เช็คภาระหนี้ต่อเดือนของผู้กู้
  • ประวัติเครดิตบูโรหรือแบล็คลิสต์
  1. ตัดปัญหาขายทิ้ง
    เป็นวิธีสุดท้ายในการตัดปัญหาการแบ่งกรรมสิทธิกรณีคู่รักกู้ร่วมซื้อบ้านด้วยกันและจำเป็นต้องเลิกราไป
    ซึ่งปฏิบัติการนี้จะสำเร็จได้ต้องมีการตกลงกันระหว่าง 2 คนแล้วว่าไม่มีใครอยากครองกรรมสิทธิบ้านที่ซื้อ
    ซึ่งต้องยินยอมขายจากทั้งสองฝ่าย ทั้งนี้คู่รักจะต้องตรวจสภาพบ้านและค่าธรรมเนียมต่างๆ ก่อนขายบ้านด้วย
    ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
  • ค่าธรรมเนียมการโอน
  • ค่าอากรแสตมป์
  • ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
  • ภาษีธุรกิจเฉพาะ

แม้ว่าจะรู้ขั้นตอนการจัดการสินทรัพย์ บ้าน คอนโด ทาวน์โฮม หรืออาคารพาณิชย์
กรณีกู้ร่วมกับคู่รักแล้วต้องเลิกรากันไปแล้ว ทางที่ดีเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ปัญหานี้เกิดขึ้น
ควรต้องศึกษาข้อมูลการกู้ร่วมและตกลงกรรมสิทธิ์ก่อนกู้ตั้งแต่ก่อนทำสัญญากู้นะคะ

เลิกกับแฟน! แต่ติด สัญญากู้ร่วม ควรทำอย่างไรต่อไป ?

______________________________________________________________

บริษัทเอเจ้นท์คอนโดสัญชาติไทย-ญี่ปุ่น “Shinyu Residence”
สนใจคอนโดราคาพิเศษ และบริการแบบ One Stop Service
Sell and Rent Condo in Bangkok
– เจ้าของรางวัล Thailand Best Real Estate Agencies จาก Dot Property Awards
– ได้รับการรับรองการเป็น International Property Specialist และ Realtor
– ได้รับการรับรองจากสมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ แห่งประเทศไทย

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://shinyurealestate.com/article/category/knowledge

หรือ https://www.facebook.com/Shinyu-Real-Estate-Official-100529669046345